ชื่อไทย : ลิ้นมังกร
ชื่อท้องถิ่น : ปัดแดง สังหิน
ชื่อสามัญ : The Red-Lipped Habenaria
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria rhodocheila Hance
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ลำต้นเป็นหัว รูปขอบขนาน 
ใบ :
ใบรูปแถบจนถึงรูปแถบแกมรูปหอก ขนาด 2 x 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมจนถึงเรียวแหลม 
ดอก :
ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาด 0.8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงบนรูปรีและเป็นอุ้งคล้ายหมวก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนาน เมื่อบานเต็มที่บิดม้วนไปทางด้านหลังกลีบดอกเชื่อมกับกลีบเลี้ยงบน ทั้งห้ากลีบมีสีเขียว ปลายกลบมน กลีบปากสีแดง สีชมพู สีเหลืองจนถึงสีส้ม กลีบเป็นสามแฉก แฉกข้างรูปทรงกลม แฉกกลางเว้าลึกจนเป็นสองแฉกย่อย
ผล :
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มิถุนายน สิ้นสุดระยะติดดอก : กรกฎาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา       กล้วยไม้ดินขนาดเล็ก พบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือป่าดิบเขา บางครั้งพบอาศัยตามซอกหินหรือโขดหินที่มีมอสปกคลุมและมีแสงแดดรำไร ในพื้นที่หลายระดับความสูง

          ถิ่นกำเนิด       …………………………………………..

การกระจายพันธุ์         พม่า จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์ : วัสดุปลูกควรมีส่วนประกอบของดินร่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์ อาจมีถ่านหรืออิฐทุบปนเพื่อให้ระบายน้ำได้ดี รดน้ำด้วยน้ำสะอาด ไม่มีกลิ่นหรือตะกอน หากเข้าสู่ช่วงระยะพักตัวงดการให้น้ำ การขยายพันธุ์โดยการ แบ่งกอ หรือเพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ปลูกประดับตกแต่งสวนภายในและภายนอกอาคาร
แหล่งอ้างอิง : [๑] สลิล    สิทธิสัจจธรรม.๒๕๕๒. กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๗. สำนักพิมพ์บ้านและสวน.   กรุงเทพมหานคร. http://www.orchidspecies.com/habrhodochila.htm
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554